อาคม การันตี ทางคู่-รถไฟฟ้า10เส้นทาง เห็นในรัฐบาลนี้

อาคม การันตี ทางคู่-รถไฟฟ้า10เส้นทาง เห็นในรัฐบาลนี้

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
          รมว.คมนาคม ปาฐกถา "ปีทองการลงทุนในประเทศไทย" ในงาน โพสต์ฟอรั่ม จัดโดยหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ว่า เศรษฐกิจไทยค่อนข้างเซื่องซึมมาหลายปี สิ่งที่เป็นคอขวดในการพัฒนาประเทศที่สำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีความล่าช้ามานาน 10 ปี จึงไม่แปลกใจว่า หากมีการวัดความสามารถการแข่งขันทั่วโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ไทยจะอยู่ในอันดับที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่ผมไม่ค่อยเชื่อในการวัดลำดับความสามารถในการแข่งขัน เพราะมาตรฐานที่วัดใช้วัดกันทั่วโลก และมักจะใช้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อใช้เกณฑ์นี้มาวัดกับประเทศที่กำลังพัฒนา แน่นอนที่สุดว่าไม่สามารถสู้กับเขาได้ ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม หรือที่อื่น เขาก็ยอมรับว่าเกณฑ์นี้เป็นมาตรฐาน แต่ไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานที่ใช้กับทุกประเทศได้ แต่ก็ไม่เป็นไร
          นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว ลำดับไทยอาจไม่ดีเท่า แต่เมื่อสัมผัสกับนักลงทุนที่อยู่ในประเทศไทย ทุกคนบอกว่า โครงสร้างพื้นฐานของไทยดีมาก เวลาหอการค้าญี่ปุ'นสำรวจทุก 6 เดือน จะบอกว่ารถติด แต่ว่าหากเราไปสัมภาษณ์นักลงทุนในต่างจังหวัดจะบอกว่าโครงข่ายคมนาคมของเราดีมาก
          โครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนกันครั้งใหญ่ วันนี้ท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้ส่งสินค้าเฉพาะของไทยกันเองเท่านั้น แต่จะใช้เป็นท่าเรือส่งออกสินค้าที่ผลิตจากประเทศรอบบ้านเรา นักลงทุนปอยเปต เกาะกง หรือลาว ก็ขนส่งสินค้ามาส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง เช่นเดียวกับนักลงทุนเมียนมา ก็ใช้แม่สอดส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งทางหลวงเราดีมาก ระยะทางจากเกาะกง หรือปอยเปตมาที่ท่าเรือแหลมฉบังแค่ 300 กิโลเมตร
          ด้านถนนทางหลวงไทยจะไม่ใช่ทางหลวงขั้นพิเศษเหมือนมาเลเซีย คำว่า ทางหลวงชั้นพิเศษ หมายถึงว่าสองข้างทางจะมีแลมป์ให้หมด สองข้างทางของเขาไม่มีบ้าน ไม่มีโรงงาน ไม่เหมือนเรา ยกเว้นมอเตอร์เวย์ ทางของเราจะมีบ้านโรงงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคของเรา แต่ก็สามารถขนส่งสินค้าได้ เวลาที่เสียส่วนใหญ่อยู่ที่การอำนวยความสะดวกที่ด่านพรมแดน ระบบศุลกากร ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ'นยังบอกว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเคลียร์ระบบศุลกากรได้เร็วที่สุด เพื่อลดระยะเวลาขนส่งสินค้าที่ท่าเรือนี่เป็นภารกิจที่เราต้องทา
          อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยเซื่องซึมมา แต่ถ้าดูตัวเลขการค้าชายแดนจะพบว่าตัวเลขการค้าชายแดนไทยจะโต 10-15% หากเศรษฐกิจโลกดีการค้าชายแดนเราจะโต 20-25% ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลคือการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ
          "เมื่อตอน คสช.เข้ามาปลายปี 2557 ได้เสนอเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้าไป นายกรัฐมนตรีก็บอกว่าเรื่องนี้สำคัญมาก จะเป็นแหล่งผลิตสินค้า เป็นโฮลโปรดักชั่นหรือคลัสเตอร์ เพราะวันนี้ไทยใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์การผลิตจากเพื่อนบ้านเพราะเขามีแรงงานที่ถูกกว่าเรามาก ดังนั้นเราจึงมีนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของไทยที่สำคัญตลอดเวลา 20 กว่าปี ณ เวลานี้ ถึงเวลาที่เราน่าจะซ่อมแซมใหญ่อีสเทิร์นซีบอร์ด หรือถึงเวลาที่ต้องสร้างเอสเคิร์ฟใหม่เป็นสินค้าที่รักษาฐานอุตสาหกรรมเดิม สร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่มีเทคโนโลยี ดังนั้นเราต้องกลับมาดูอีสเทิร์นซีบอร์ดที่เราออกแบบไว้ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี"
          นี่คือส่วนที่เรียกว่า ปีทองแห่งการลงทุน เราระบุพื้นที่ให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งอีสเทิร์นซีบอร์ด โครงการลงทุนทางด้านชายแดนต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งในชั้นต้นก็จะเป็นถนน ลำดับต่อไป จะมีระบบรถไฟ รถไฟฟ้าไปให้ โดยเอกชนจะต้องลงทุน แต่รัฐจะลงทุนให้ไปก่อน
          ปีทองการลงทุนไทยจะไม่จำกัดเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน โดยนโยบายของรัฐจะต้องลงทุน 5 เรื่อง คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ เพราะต้องมีการผลิตบุคลากรป้อนให้อุตสาหกรรม
          ลงทุน 5 ด้าน ช่วงปี58-65
          อาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้กำหนดแผนการลงทุนระยะ 8 ปี (2558-2565) ไว้ 5 เรื่อง 1.โครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2.ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในปีนี้ ปีหน้า จะเจอปัญหารถติดมาก เพราะมีการสร้างรถไฟฟ้า โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่มีการทุบสะพานข้ามแยกเกษตร และจะรื้อสะพานข้ามแยกรัชโยธิน
          3.โครงข่ายถนนเชื่อมโยงชายแดน 4.ระบบการขนส่งทางน้ำ ซึ่งได้พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง และอนุมัติไปแล้ว 2 แผนงาน และอยู่ระหว่างพิจารณาขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3
          "การขนส่งเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องมีการอนุมัติศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 เป็นการปรับพื้นที่เอารางไปในท่าเรือ"
          5.การขนส่งทางอากาศ ปัจจุบันกำลังสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพราะตอนออกแบบรองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคน แต่ปัจจุบันผู้โดยสารปีละ 50-55 ล้านคน
          สุวรรณภูมิเฟส 2 มี 4 ส่วนด้วยกัน 1.รันเวย์ที่ 3 รอการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งจะทำควบ คู่กันตามประกาศ คสช.ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) สามารถขออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างได้ เมื่อรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านการอนุมัติจึงจะประกวดราคา ซึ่งโครงการอื่นก็ทาแบบนี้
          2.อาคารผู้โดยสารมี 2 อาคาร ขั้นตอนทีโออาร์เสร็จแล้ว รอประกวดราคาอาคารแซทเทิลไลท์ ที่อยู่ด้านใต้สนามบิน ซึ่งมีหลุมจอด หรืองวง ให้สามารถเพิ่มสล็อตเครื่องบินได้
          3.โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสาร (เอพีเอ็ม) คาดว่า ทอท.จะประกวดราคาอาคารผู้โดยสาร แซทเทิลไลท์เดือน เม.ย.นี้
          4.อาคารเทอร์มินอลทางด้านเหนือที่อยู่ข้างอาคารผู้โดยสารในปัจจุบันก็ต้องสร้าง
          นอกจากนี้ ต้องพัฒนาสนามบินอื่นๆ ที่เป็นปลายทางของประเทศไทยที่ชาวต่างชาติจะเข้ามา เช่นที่สนามบินภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงใหม่ ปัจจุบัน ทอท.สร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเปิดเดือน มิ.ย.นี้ แต่คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จอาจรองรับไม่พอ จึงจะพิจารณาขยายรองรับผู้โดยสารต่อไป แต่สนามบินภูเก็ตจะต้องพึ่งพาสนามบินข้างเคียงด้วยเช่น สนามบินกระบี่ และอนาคตมีข้อเสนอสร้างสนามบินเพิ่มที่ภูเก็ต ส่วนสนามบินเชียงใหม่ ได้เปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศไปแล้ว
          สำหรับสนามบินในเมืองหลวงจะใช้ 3 สนามบิน 1.สนามบินสุวรรณภูมิ 2.ดอนเมือง เปิดอาคาร 2 ไปแล้ว เหลืออาคารผู้โดยสารภายในประเทศเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารร้าง แต่ ทอท.จะนามาปรับปรุงรองรับให้ได้ 30 ล้านคนต่อไป เฉพาะใน กทม.รวม 90 ล้านคน
          3.สนามบินอู่ตะเภา ได้รับการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเพื่อรองรับเที่ยวบินประจำ และจะเปิดเดือนมิ.ย.นี้
          ขั้นตอนต่อไปไทยจะพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานในภูมิภาค ซึ่งศึกษาเรียบร้อยและรอเสนอ ครม.
          อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้เรียนนายกฯ ว่า ทางกองทัพเรือให้การสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจมาก และประเทศต้องเร่งรัดพัฒนา เพราะเราล่าช้ามานานกว่า 10 ปี จึงเป็นโอกาสของสายการบินต่างๆ จากเดิมที่ต้องบินไปซ่อมที่จีน สิงคโปร์ ในเร็วๆ นี้เมื่อขออนุมัติทำศูนย์ซ่อมอากาศยานในปีหน้าก็จะพัฒนาเป็น ศูนย์ซ่อมได้
          รถไฟระบบรางเข้าคิวเสนอ ครม.
          โครงการลงทุนอีกด้านที่จะเห็นเป็นรูปธรรมคือ ระบบราง เม็ดเงินลงทุนที่ตั้งไว้ 20 โครงการวงเงิน 1.79 ล้านล้านบาท จะต้องเร่งรัดการลงทุน เพื่อผลักดันเม็ดเงินลงทุนเข้าไปจะช่วยอุตสาหกรรมก่อสร้าง และโครงการที่จะใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน ความสามารถในการสร้างนิวเอสเคิร์ฟจะทำไม่ได้ หากไม่มีอินฟราสตรักเจอร์ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในอนาคต
          รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม. มีแผนมา 10 ปีแล้ว แต่มีไม่กี่สาย ที่ให้บริการคือสายสีน้ำเงินเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.ที่ให้บริการปัจจุบัน
          ขณะที่สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเสร็จรับรถหมดแล้ว อยู่ระหว่างทดสอบระบบ เปิดให้บริการเดือน ส.ค. 2559 ซึ่งรัฐบาลเร่งให้เปิดบริการก่อนกำหนด 4 เดือน โดยทางญี่ปุ'นรับปากเมื่อครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปญี่ปุ'นและขอให้เร่งรัดประกอบรถไฟฟ้าให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด ซึ่งขบวนรถชินคังเซ็นกำลังประกอบอยู่ และไม่มีรถไฟฟ้าสายสีม่วง จากนั้นเมื่อรับปากนายกฯ แล้ว ทางญี่ปุ'นก็ปรับแผนประกอบรถไฟฟ้าสาย สีม่วงให้ไทยเร็วขึ้น
          รถไฟฟ้าสายที่ทำอยู่ขณะนี้คือ การเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทางด้านเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คืบหน้า 15% และด้านใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ คืบหน้า 70% โดย กทม.มีข้อตกลงกับกระทรวงคมนาคม รฟม. ยินยอมที่จะโอนส่วนต่อขยายที่กำลังก่อสร้างให้ กทม.ไปบริหารงานเดินรถ โดยวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะมีการลงนามในเอ็มโอยูระหว่าง กทม.-รฟม.กระทรวงการคลัง เพื่อให้ กทม.จัดหาผู้เดินรถให้ต่อเนื่อง
          รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (เตาปูน-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ซึ่งก่อสร้างไปเกือบ 70% อยู่ระหว่างจัดหาผู้เดินรถจะเร่งเสนอให้คณะกรรมการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) พิจารณาในเดือนนี้ และจะเสนอเข้า ครม.ในเดือน เม.ย.นี้
          สำหรับรถไฟสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) นั้น ครม.อนุมัติในหลักการและมอบหมายให้รฟม.ไปปรับลดราคาค่าก่อสร้างลงมา โครงการนี้รัฐจะลงทุนก่อสร้างให้ ส่วนการเดินรถจะเปิดให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้เดินรถ และหลัง รฟม.เสนอเรื่องลดค่าก่อสร้าง ซึ่งจะเสนอเข้า ครม.ในวันที่ 29 มี.ค. เพื่อพิจารณาอนุมัติปรับลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง และในส่วนของรถไฟสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน) นั้นคาดว่าจะได้รับอนุมัติภายในปีนี้
          รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าโมโนเรลสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ขณะนี้ผ่านคณะกรรมการพีพีพีแล้ว จะเสนอ ครม.วันที่ 29 มี.ค. จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนประกวดราคา ซึ่ง รฟม.ยกร่างทีโออาร์ได้ประมาณ 80-90% จากนั้นจะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนกิจการรัฐ พ.ศ. 2556 กระบวนการทีโออาร์และการประกวดราคาน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน จึงคาดว่าไม่เกินเดือน ก.ค.-ส.ค.จะได้ผู้รับเหมา
          ด้านรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูนราษฎร์บูรณะ) พูดง่ายๆ หากวิ่งจาก (บางใหญ่-บางซื่อ) สายสีม่วงจะเชื่อมสายสีน้ำเงินและสีม่วงเชื่อมต่อราษฎร์บูรณะเชื่อมด้านเหนือ-ใต้ ขณะนี้รายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ผ่านเรียบร้อยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะได้เสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เดิมทีสายสีม่วงใต้น่าจะเสร็จแล้ว แต่มีปัญหาข้อจำกัดพื้นที่ จึงขอขยายเส้นทางออกไปอีก 5 กิโลเมตร จนถึงวงแหวนอุตสาหกรรม ดังนั้นศูนย์ซ่อมจะไปอยู่ปลายทาง ซึ่งได้ส่งข้อมูลให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้ว คาดว่าไม่เกินเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2559 จะเสนอให้ ครม.พิจารณา เพื่อทำให้การเดินทางเหนือ-ใต้ เชื่อมต่อกัน
          "ผมขอยืนยันว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้าใน กทม.ทำมา 10 กว่าปี มีทั้งหมด 10 สายทาง จะครบถ้วนในรัฐบาลชุดนี้ ครบถ้วนใน 3 รูปแบบ คือ ศึกษาขั้นตอน ประกวดราคา อนุมัติให้เกิดการลงทุน ทั้งหมดจะเกิดขึ้นแน่นอนในรัฐบาล ชุดนี้"
          อาคม ยืนยันอาคม กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคมจะยังไม่หยุดเดินหน้าผลักดันการลงทุนภาครัฐเพียงแค่นี้ เพราะเราเห็นปัญหา ข้อขัดข้องในรถไฟฟ้าบีทีเอสในทางเทคนิค ทำให้ต้องหยุดเดินรถบางช่วง ประเด็นคือว่า ตลอดสายทางบีทีเอสยาวมาก หมอชิต-แบริ่ง ต่อไปสมุทรปราการ เมื่อเกิดข้อขัดข้องประชาชนที่อาศัยด้านใต้สมุทรปราการต้องผ่านสถานีสยาม หากเข้ามาไม่ได้ไปไม่เป็นจะนั่งรถเมล์ก็ไม่คุ้นว่าสายใด กระทรวงคมนาคมเห็นว่า เน็ตเวิร์กเชื่อมเหนือ-ใต้-ออก-ตก ที่เชื่อมต่อโครงข่ายตรงนี้เป็นเส้นเลือดฝอยบางส่วนไม่มี
          ดังนั้น ต่อไปจะต้องพัฒนาเชื่อมโครงข่ายให้สมบูรณ์ และจะต้องแล้วเสร็จภายในปีหน้า เพื่อให้โครงข่ายสมบูรณ์ หรือเรียกว่าแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้า กทม.ระยะที่ 2
          ด้านระบบรถไฟระหว่างเมืองจะมี 2 ระบบหลัก รถไฟทางคู่ ซึ่งกระทรวงคมนาคมวางไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ในรัฐบาลนี้มี 6 เส้นทาง คือ 1.รถไฟทางคู่เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า (มาบกะเบา)-แก่งคอย ได้เซ็นสัญญาเริ่มก่อสร้างแล้ว
          2.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น ได้เซ็นสัญญาเริ่มก่อสร้างแล้ว ส่วนช่วงระหว่างแก่งคอย-นครราชสีมา อยู่ระหว่างการดำเนินการ
          3.รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ อยู่ระหว่างเสนอ ครม.เพื่อเติมเต็ม
          4.รถไฟทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์ชุมพร เป็นทางคู่ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วรอเสนอ ครม.ไม่เกินเดือน เม.ย.นี้
          5.รถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน อยู่ในกระบวนการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แต่จากประกาศของ คสช. เราสามารถดำเนินการคู่ขนานในการจะหาผู้รับเหมาได้
          รถไฟความเร็วสูงจีน-ญี่ปุ่นยังลุ้นยาว
          สำหรับรถไฟทางคู่ช่วงหัวหินประจวบคีรีขันธ์ จะตามมาอยู่ในแผนระยะที่ 2 ต่อไปจะทำให้มีทางคู่จากนครปฐม-ชุมพร ลงใต้ และสายเหนือเส้นที่ 6 ลพบุรี-ปากน้ำโพ จะดำเนินการคู่ขนานอีไอเอ ซึ่งจะเสนอขออนุมัติ ครม.ภายในเดือน เม.ย. 2559
          ส่วนรถไฟความเร็วสูงทางไกลเป็นโครงการที่จะโมเดิร์นไนซ์เส้นทางของไทยมี 4.เส้นทาง 1.รถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมาหนองคาย ระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร ซึ่งจากการหารือกับรัฐบาลจีนครั้งสุดท้ายจะกำหนดเป็นระยะที่ 1 ยังติดเรื่องต้นทุนของโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือให้ตัวเลขตรงกัน ประการต่อมาต้องหารือกันในเรื่องของสัดส่วนการลงทุน ซึ่งรัฐบาลไทยต้องการให้จีนเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้น โดยต้องมากกว่าที่ไทยลงทุน นอกจากนี้ยังต้องหารือกันในเรื่องบริษัทร่วมทุน
          2.รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือไทย-ญี่ปุ'น อยู่ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาญี่ปุ'นศึกษา ซึ่งเดิมเรามีผลศึกษาไว้แล้ว แต่เมื่อเป็นการร่วมทุนทางญี่ปุ'นต้องมาศึกษาให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น เส้นทางนี้ภายในเดือน มิ.ย. 2559 จะสามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ และสิ้นปีจะได้ผลการศึกษาครั้งสุดท้ายปี 2560 จะได้รับการออกแบบ
          3.รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง และ 4.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ทั้งสองโครงการนี้จะเสนอให้คณะกรรมการพีพีพีพิจารณาอนุมัติให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ จากนั้น 3-4 เดือน จะทำอี-บิดดิ้ง โดยจะเปิดให้เอกชนจะเข้ามาลงทุนตั้งแต่เริ่มต้น โดยรัฐลงทุนเวนคืน เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง
          อาคม กล่าวว่า รัฐบาลรู้ดีว่าในภาวะเศรษฐกิจที่ซึม การลงทุนภาครัฐจะเป็นหัวรถจักรใหญ่ จึงพยายามผลักดันการลงทุน อย่างไรก็ตามภาคเอกชนยังมองว่า ซึ่งขอยืนยันไม่ชักช้า แต่กระบวนการอาจมีการปรับเปลี่ยนให้รัดกุมขึ้น
          ทั้งนี้ หากดูตัวเลขการลงทุนภาครัฐตั้งแต่ปี 2558 จะพบว่าการลงทุนของภาครัฐมากถึง 15-25% ของเงินลงทุนทั้งหมดในบางไตรมาส บางไตรมาสกลับพบว่ามีเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐไหลลงไปสู่ระบบสูงถึง 30%
          ดังนั้น ทั้ง 20 โครงการ ที่มีตัวเลขลงทุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท นั้นเป็นงบลงทุนที่เอกชนต้องลงทุนประมาณ 21% ซึ่งเป็นตัวเลขขั้นต่ำ แต่ภาพรวมจะมากกว่านี้อีกเล็กน้อย แต่ขอยืนยันว่า ในส่วนของการลงทุนอินฟราสตรักเจอร์เม็ดเงินจะทยอยออกจากภาครัฐให้เห็นเป็นรูปธรรมแน่นอน--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

คิดถึงบ้านมือสอง คิดถึง อินเตอร์โฮมฯ : 02-946-6206

www.interhome.co.th